poem

สัมภาษณ์สปิลเบิร์ก






เทคนิคการทำหนังสไตล์ ‘สตีเว่น สปีลเบิร์ก’

บทความยาวแชร์ไปอ่านตามสะดวกครับ

ด้วยหนังฟอร์มยักษ์จำนวนหนึ่งส่งผลให้ ชื่อเสียงเรียงนามของ สตีเว่น สปีลเบิร์ก ถูกแช่ซ้องสรรเสริญมากมายว่าเป็นคนทำหนังที่ทำให้ความบันเทิงได้รับการแพร่หลายอย่างใหญ่โตมหาศาล และได้รับเสียงชื่นชมคงทนถาวรมานานนับทศวรรษ แม้ทั้งหมดเป็นเพียงมายาภาพแห่งหนังสามองก์เท่านั้น แต่อย่างไรตามเบื้องหลังความสำเร็จของเขาเป็นผลมาจากหลายสิ่งหลายอย่าง แต่จุดสำคัญท่ามกลางสิ่งเหล่านี้อยู่ที่ความรู้สึกตอนวัยเด็กที่ทั้งมหัศจรรย์และชวนพิศวง เป็นอารมณ์ความรู้สึกที่เขาไม่เคยทอดทิ้งมันไปแม้แต่วินาทีเดียว

▶▷วัยเด็กกับกล้องถ่ายภาพในมือ◀◁

จากหนังเรื่อง Jaws ไป Close Encounters of the Third Kind ไป Indiana Jones ไป Empire of the Sun และ Jurassic Park และ และ Schindler’s List และ, และ, และ… เขาเคยมีผลงานมากมาย และการแสดงออกทางความสามารถในอาณาจักรของคนทำหนังยาวนานกว่า 5 ทศวรรษ แล้ว ด้วยการทำหนังหลากหลายแนว หลากอารมณ์ และประเด็นเนื้อหาอีกมากมาย

และนี่คือบทเรียนการทำหนัง (สำหรับแฟนคลับและคนทำหนัง) จากเด็กน้อยคนหนึ่งที่นอนหลับใต้ผ้าห่มหลังดูการ์ตูนเรื่อง Bambi(1942) ยามค่ำคืน

▶▷การคาดเดาเกี่ยวกับหนังของคุณมักจะผิดพลาดเสมอ◀◁

บางทีคำแนะนำดีที่สุดในพื้นตรงนี้ที่ควรถูกไตร่ตรอง คือการละทิ้งความเห็นแง่ลบว่านั้นเป็นตัวทำลายการทำหนังของคุณ มันง่ายมากที่จะสมมติว่าผู้กำกับ (หรือโปรดิวเซอร์) ที่คุณได้อำนาจควบคุมเบ็ดเสร็จตามที่คุณกำลังทำนั้นเป็นข้อสันนิษฐานที่จะทำให้เกิดความล้มเหลว

“สิ่งหนึ่ง ผมไม่รู้ว่าอะไรที่ผมกำลังเข้าไปหา หลายครั้งที่ความเชื่อมั่นของผมในการทำหนังมักจะผิดพลาด ยกตัวอย่าง เช่น เรื่อง Schindler’s List ผมมั่นใจมากว่าอะไรก็ตามที่ผมกำลังทำในโปแลนด์ผมควรตั้งใจทำ และเพียงแค่ผมวางกล้องของผมระหว่างตัวผมและสิ่งที่ถ่าย และปกป้องตัวผมเองโดยการสร้างสรรค์ความงามในแบบของผม แต่ทันทีที่วันแรกของการถ่ายทำมาถึง ทุกอย่างกลับพังทลาย โดยที่ไม่ได้เตรียมใจกันไว้ก่อนล่วงหน้า ในเวลานั้นผมตระหนักได้ว่าเหตุการณ์นี้พร้อมจะกลายเป็นบทเรียนส่วนตัวมากที่สุดในชีวิตของผม มันเป็นประสบการณ์เลวร้ายที่รุนแรงของผม และในบางครั้งผมก็ยังไม่สามารถก้าวผ่านมันไปได้"

ผมกลับไปคิดถึงตอนถ่ายทำ Schindler’s List ด้วยความทรงจำที่แสนเศร้า เป็นเพราะประเด็นสำคัญของเรื่อง ไม่ใช่เพราะประสบการณ์การทำงาน ประสบการณ์การทำงานเกือบจะสมบูรณ์อยู่แล้ว เพราะทุกคนช่วยกันคนละไม้ละมือในกองถ่าย ทำงานกันเป็นทีม มันเหมือนการบำบัด และสำหรับผู้คนมากมาย มันได้เปลี่ยนชีวิตพวกเขา นักแสดงมากมายและทีมงานมากมาย มันเปลี่ยนชีวิตของพวกเขา แน่นอนมันเปลี่ยนชีวิตของผมด้วย จนต่อมาในกองถ่ายหนังเรื่องอื่นมันทำให้ผมทำงานด้วยจิตใจที่สนุกสนาน ผมคิดว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังที่ผมพ่ายแพ้ มันทำให้ผมคิดแบบนั้น หนังจะเลี้ยวกลับหลังและชนผมล้มราวกับว่ามันเป็นรถถัง ดังนั้นผมจึงพยายามทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อหยุดการคาดเดาสิ่งที่งานควรจะเป็น เพราะว่ามันมักจะผิดพลาดอยู่เสมอ

มันอาจเป็นประสบการณ์ที่ไม่สามารถกำหนดล่วงหน้าได้ แต่สำหรับใครก็ตามผู้ที่เคยพยายามสร้างหนังสัตว์ประหลาดที่แสดงโดยปลาฉลาม เพื่อสร้างหนังเขย่าขวัญแบบฮิทช์ค็อกค์เกี่ยวกับปลาฉลามที่ทั้งเรื่องแทบไม่มีปลาฉลามอยู่เลย ก็เป็นที่แน่ชัดแล้วว่ากระบวนการทำหนังสามารถเปลี่ยนตัวคุณด้วยเหตุผลที่เหนือเกินคำบรรยายของคุณเอง คุณจะตอบสนองอย่างไรกับสิ่งที่กำหนดคุณและหนังของคุณ

▶▷การเลือกทีมงานที่ถูกต้องเป็นกุญแจไขความลับสู่ความสำเร็จ◀◁

“ขณะผมยังเด็ก ไม่มีทีมงานสักคน มีเพียงแค่ตัวคุณกับกล้องที่สั่งการรอบๆตัวเพื่อนของคุณ แต่เมื่อผมโตเป็นผู้ใหญ่ การทำหนังมันเกี่ยวกับการสรรเสริญคนมีความสามารถที่อยู่รายล้อมตัวคุณและการรู้ว่าคุณไม่สามารถทำหนังได้ด้วยตัวของคุณคนเดียว

‘ภาพยนตร์เป็นกีฬาที่เล่นกันเป็นทีม’

▶▷ใช้เล่ห์กลนิดหน่อยโดยไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน◀◁

ตอนผมอายุ 15 16 ปี ผมเรียนอยู่ในโรงเรียน ผมใช้เวลาตอนปิดเทอมหมดไปกับการไปเที่ยวในแคลิฟอร์เนียกับลูกของลูกพี่ลูกน้อง และผมต้องการเป็นผู้กำกับ ผมทำหนังโดยใช้กล้อง 8 มม. ถ่าย ตั้งแต่อายุ 12 ปี ผมทำหนังตลกและดราม่านิดหน่อยกับเด็กๆข้างบ้าน

วันหนึ่งผมตัดสินใจเข้าไปที่ยูนิเวอร์แซล ผมแต่งตัวด้วยเสื้อคลุมและผูกเนคไท ผมไปเที่ยวหนึ่งวันในยูนิเวอร์แซล และที่จริงกว่านั้นคือผมกระโดดลงจากรสบัสท่องเที่ยว ผมใช้เวลาตลอดวันอย่างมากมาย ผมพบผู้ชายคนหนึ่งชื่อ ชัค ซิลเวอร์ ผมบอกเขาว่าผมเป็นนักทำหนังมาจาก อาริโซน่า

เขาพูดว่า “เด็กน้อย มาอีกครั้งพรุ่งนี้นะ ฉันจะเขียนบัตรผ่านให้และคุณโชว์หนังที่ถ่ายทำด้วยกล้อง 8 มม.ให้ฉันดูได้เลย”

ผมเลยได้จัดเทศกาลหนังเล็กๆสำหรับเขาคนเดียว

เขาพูดว่า “นายเก่งมาก ฉันหวังว่านายจะทำสำเร็จ แต่... เพราะว่าฉันเป็นเพียงแค่บรรณารักษ์ ฉันไม่สามารถเขียนลงนามในจดหมายเป็นบัตรผ่านให้ได้” (เขาหัวเราะ)

ดังนั้นวันต่อมา ผมเฝ้าสังเกตผู้คนว่าเขาแต่งตัวกันอย่างไรในแต่ละวัน ผมแต่งตามเขา สะพายกระเป๋าหิ้ว และเดินผ่านยามคนเดิมหน้าประตู ชื่อ สก๊อตตี้ ผู้ที่น่าจะทำงานมานานแล้ว เพราะเขาเป็นดูมีอายุมาก เขาโบกมือให้ผมเข้าไป

ตลอด 3 เดือน ซึ่งเป็นวันหยุดปิดเทอมภาคฤดูร้อนทั้งหมด ผมใช้เวลาทุกวัน ค้นหาสำนักงาน ไปที่ร้านค้าเพื่อจะขายกล้อง และซื้อตัวอักษรพลาสติก ค้นหาออฟฟิศร้างในยูนิเวอร์แซล และลักลอบจับจองเป็นของผม และติดชื่อและเบอร์โทรลงไปในอาคาร และนั่นเป็นพื้นฐานการทำธุรกิจในแบบของผม แต่มันไม่ใช่ทั้งหมด ผมเรียนรู้มากมายจากการตัดต่อและการอัดเสียงโดยการดูมืออาชีพเขาทำกัน แต่ผมไม่เคยได้งานที่ถูกหลอกลวงเลย

สปีลเบิร์ก พูดหลายครั้งเกี่ยวกับเล่ห์กลเพทุบายของสตูดิโอยูนิเวอร์แซลของเขาเองต่อคนหนุ่ม แต่มันก็มีเสน่ห์มากมายเมื่ออยู่ในหนังเรื่อง *Catch Me If You Can*

แน่นอนคุณอาจจะไม่ประสบความสำเร็จทั้งหมดในการใช้เล่ห์อุบายแบบเดียวกันในวันนี้

▶▷มากกว่าก็ไม่จำเป็นต้องมากเสมอไป◀◁

“งบประมาณที่ล้นเอ่อคือซากปรักหักพังของฮอลลีวู้ด เงินกำลังมีอำนาจปกคลุมหนังไปทั่วทั้งโลก มันเป็นหายนะชัดๆ ขณะที่ผมทำ The Lost World ผมจำกัดจำนวนของช็อตเทคนิคพิเศษเพราะว่ามันแพงอย่างเหลือเชื่อ หากว่าไดโนเสาร์เดินเข้าไปในฉาก มันมีราคา 8 หมื่นดอลลาร์ สำหรับ 8 วินาที หากไดโนเสาร์ 4 ตัว อยู่ในพื้นหลังมันมีราคา 1 แสน 5 หมื่น ดอลลาร์"

☆ มากกว่าก็ไม่ได้ทำให้ออกมาดีที่สุดเสมอไป ☆

อาเมน

▶▷ความเครียดและความวิกลจริตอาจคุ้มค้าต่อตัวมันเองก็เป็นได้◀◁

“มันคุณค่าเพราะว่า ตัวอย่างเช่นหนังเรื่อง Close Encounters ซึ่งเป็นหนังที่ผมเขียนและเป็นหนังที่ไม่มีใครต้องการสร้างมันเลย ทุกคนดูต้องการทำอะไรที่เหมาะสมหลังจาก Jaws ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม สิ่งแรกเลย Jaws ทำให้ทางสตูดิโอยอมรับผม ทาง โคลัมเบีย ไฟเขียวให้ผมทำ Close Encounters ต่อกันเป็นเรื่องที่ 2 ทำให้ผมต่อลมหายใจของผมในอาชีพออกไปได้ แต่สิ่งที่ผมเป็นหนี้ต่อ Jaws คือมันทำให้ผมเป็นคนที่นอบน้อมมากยิ่งขึ้น เกี่ยวกับการควบคุมการประนีประนอมภาพในจินตนาการของผมให้มันดูมันมีความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น"

ในการสัมภาษณ์ที่สปีลเบิร์กเคยทำได้ดีที่สุดครั้งหนึ่งเกี่ยวการพูดคุยอย่างสบายๆในความลึกซึ้งเกี่ยวกับอาชีพของเขาและฉลามเลวทรามที่เปลี่ยนเขาไปตลอดกาล เขาพูดคุยเกี่ยวนิสัยส่วนตัว แรงขับเคลื่อนของเขา และประเด็นอีกมากมาย มันเป็นการพูดคุยที่เปิดเผย แต่สิ่งหนึ่งที่บอกถึงความชัดเจนของเขา คือ ในบางครั้งการผ่านขุมนรกไปให้ได้ย่อมเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะมันคุ้มค่ากับรางวัลที่ได้รับจากมัน

▶▷อะไรคือสิ่งที่พวกเราได้เรียนรู้◀◁

สปีลเบิร์ก เป็นนักทำหนังที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในความสามารถของเขาที่บอกเล่าเรื่องราวอย่างไม่ถากถาง ริชาร์ด เดรย์ฟัสส์ บอกว่า เขาเป็นคนมั่นใจในงานที่ล้อมรอบตัวเขา ความดีงามจะรวมน้ำเสียงและความมีสุนทรียศาสตร์เข้าไว้ทั้งหมดด้วยกัน นี้เป็นความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่ของการผจญภัย และไม่มีภาพแทนแบบคงที่ในประเด็นบรรลุความสำเร็จของมนุษย์และ ความเป็นไปได้ของมนุษย์ในหนังของสปีลเบิร์ก

สิ่งที่หนังของเขาหลายเรื่องนำเสนอ(แม้กระทั่งหลักศีลธรรมหรือหลักปฎิบัติซึ่งความรุดหน้าถูกตั้งคำถาม) แต่ข้อความเรียบง่าย สปีลเบิร์ก ประสบความสำเร็จเพราะเขาสามารถทำให้ทุกคนอ้าปากค้าง บางครั้งเป็นเพราะว่า ความเมตตาหรือการกระทำอันที่โหดร้ายของตัวมนุษย์เอง ฝันร้ายที่น่าหวาดกลัว หรือเป็นเพราะว่า หุบเขาใหญ่โตที่เต็มไปด้วยไดโนเสาร์

การอ้าปากค้าง เป็นหัวใจของการทำหนังของเขา และเป็นหัวใจที่เป็นอารมณ์กระตุ้นประกายไฟอันน่าพิศวง ในแบบฉบับของคนหนุ่มสาว ที่เข้าใจพวกเรามากกว่าสิ่งที่พวกเราเป็น สปีลเบิร์ก คอยยืนข้างและกุมมือด้วยตัวตนที่ยังเด็กของตัวเขา เพื่อสร้างสิ่งมหัศจรรย์

แปลโดย A-Bellamy
ที่มา filmschoolrejects

Share this post

Post a comment

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum: